วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความยุติธรรม


การสร้างความเป็นธรรมในสังคมโลก

ปาฐกถาพิเศษ อมาตยา เซน กาลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในสังคม

วันที่ 17 ธันวาคม   2553 " อมาตยา เซน "   ผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ พ.ศ.2541   ปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ "การลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในสังคม" (Building social  justice to close the social GAP) ในเวทีประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3 ประจำปี พ.ศ.2553   ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ  โดยมีสาระสำคัญที่น่าสนใจ ดังนี้

 อมาตยา เซน   กล่าวว่า   ทุกวันนี้เชื่อว่าความยุติธรรมทางสังคมต้องเน้นไปที่คุณภาพชีวิตควบคู่กับเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งตอนนี้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทยอาจถดถอยกว่าในอดีต   เพราะมีความไม่พอใจในเรื่องการกระจายอำนาจทางการเมืองอยู่บ้าง  อย่างไรก็ตามประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ และประเทศไทยก็เป็นประเทศที่ยิ่งใหญ่และผมเองก็ชอบมากด้วย

เมื่อปี ค.ศ.1964  ผมได้เดินทางมายังประเทศไทยเป็นครั้งแรก ไทยเป็นประเทศที่ค่อนข้างก้าวหน้า แต่ไทยยังมีช่องว่างทางสังคมที่ประชาชนยังไม่พอใจอยู่เยอะเหมือนกัน มีการวิจารณ์กันมากว่าในสังคมไทยมีทั้งผู้มีอำนาจและผู้ที่ไม่มีอำนาจ  ผมเข้าใจว่า ความเข้าใจของคนไทยที่ไม่มีความรู้นั้นโดยพื้นฐานแล้วจะเกิดความระแวงขึ้นมา ซึ่งเป็นสิ่งที่มีผลกระทบต่อการที่จะถูกเอารัดเอาเปรียบทางการเมือง รวมถึงการใช้อำนาจทางการเมืองมาตอบสนองความต้องการทุกอย่างไม่ได้   ความไม่พอใจระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับประชาชน ท้ายที่สุดเราก็ยังต้องตั้งคำถามต่อไปว่า ทำไมความไม่พอใจยังมีอยู่ในสังคมไทย และอาจส่งผลกระทบไปถึงความรุนแรง

ในการเสวนาหรือการพูดคุยกันนั้น รัฐบาลเองก็ต้องมีส่วนร่วมเพื่อหาช่องว่างทางสังคม หมายความว่าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมกันแก้ไข ผมมาเยี่ยมประเทศไทยบ่อยครั้ง  ปัญหาของไทยถือว่าเป็นปัญหาที่ทั่วโลกก็กำลังเผชิญเหมือนกัน ความไม่พอใจมีอยู่ทั่วโลกนั้น ต้องคิดต่อไปว่าคนไทยต้องทำอย่างไร มีการใช้ประโยชน์ทางการเมืองมากน้อยแค่ไหน

กรณีของไทยไม่ได้โดดเด่นหรือแปลกไปจากประเทศอื่นเลย จะแปลกก็อยู่ที่ว่าฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการเข้าไปมีส่วนร่วมแก้ไข มีการที่ปล่อยให้แตกออกเป็น 2 ฝ่าย แบ่งออกเป็นกลุ่มก้อน แยกกันคิด ซึ่งก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการแก้ไขปัญหา แต่ก็คือช่องว่างทางสังคมที่เกิดขึ้นเช่นกัน

  สมัชชาสุขภาพแห่งชาติเป็นสถาบันที่ดีมาก ทำให้เกิดความก้าวหน้าทางสังคม จำเป็นต้องให้เกิดขึ้นเพื่อบรรลุความยุติธรรม ช่องว่างอาจจะมีอยู่จริง ความไม่พอใจอาจเป็นความไม่พอใจแบบรุนแรง อย่างไรก็ตามต้องมีการประชุม มีการพูดคุยหารือกัน   เพราะสิ่งที่คนเห็นในประเทศว่าเกิดอะไรนั้นเป็นเรื่องสำคัญ คนในสังคมก็แสดงความคิดเห็นออกมามากมาย ซึ่งสังคมต้องนำมาแก้ไขและมองเห็นช่องว่างทางสังคมว่าเป็นช่องว่างในเชิงภูมิภาคหรือเชิงพื้นที่ หรือแม้กระทั่งช่องว่างความแตกต่างระหว่างเมืองกับชนบท เพราะแต่ละภูมิภาคประสบปัญหาไม่เหมือนกัน

ปัญหาความแตกต่างด้านภูมิภาคเกิดขึ้นทั่วโลกควรช่วยกันแก้ไขปัญหา ส่วนช่องว่างที่เกิดขึ้นมานานก็คือ ช่องว่างเชิงชนชั้น ในความไม่เท่าเทียมกันระหว่างคนจนกับคนรวย ซึ่งนำพาไปสู่ความไม่ลงรอยกันเหมือนประเทศอื่นๆในภูมิภาค นี่ถือเป็นปัญหาที่ควรแก้ไขและคิดกันใหม่เกี่ยวกับความสัมพันธ์และความไม่เท่าเทียมกันทางชนชั้น

 ในเรื่องเพศวิถีนั้น ความแตกต่างระหว่างชายกับหญิงเกิดขึ้นสูง และยังคงเป็นปัญหาใหญ่ในหลาย ๆ ประเทศ โอกาสทางสังคมมีน้อย เศรษฐกิจในหลายภาคส่วนไม่เกิด เสียงทางการเมือง  ขาดความสมดุล จนทำให้รัฐบาลได้ประโยชน์มากในทางการเมือง ซึ่งต้องมีการตรวจสอบ มีช่องว่างหลายช่องทำให้ประเทศชาติไม่ได้ประโยชน์  จึงต้องมีการเข้ามาตรวจสอบตรงนี้จุดนี้ให้มาก

 ส่วนเรื่องของศาสนาเป็นเรื่องที่อาจนำไปสู่การแบ่งแยกของคนในชุมชน ความไม่เสมอภาคย่อมเกิดตามมา การดูแลคนกลุ่มน้อยอาจจะเป็นเรื่องที่ดูท้าทายดี ในประชาธิปไตยนั้นคนกลุ่มใหญ่จะต้องมีความเข้าใจในปัญหาร่วมกัน ซึ่งก็ควรมีในประเทศไทยเช่นกัน ในการดูแลคนคนพิการ 6ล้านคน จาก 6,000 ล้านคนทั่วโลก มีน้อยมาก ซึ่งมีผลต่อการหารายได้และการใช้ชีวิตของคนเหล่านั้นด้วย ซึ่งสังคมต้องพยายามให้ความช่วยเหลือคนพิการในส่วนนี้ เพื่อคนพิการจะได้ใช้แขนขาเทียมตามความต้องการ

 อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญเราจำเป็นต้องร่วมกันคิดร่วมกันทำว่ามีอะไรบ้างที่นำไปสู่ความแตกแยกของคนในสังคม เมื่อความแตกแยกมารวมกันก็จะมีความรุนแรงเกิดขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ และเชื่อว่า "ปัญหาสังคมไม่มีเพียงแค่นี้ ช่องว่างต่าง ๆ เป็นสิ่งที่นำไปสู่การแบ่งแยก และสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งคือความแตกแยกหลายอย่างมารวมตัวกันก็จะกลายเป็นความยิ่งใหญ่ของปัญหา"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น